การมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยของประชาชน ของ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยให้กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยได้หลายวิธี ดังนี้

การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา วิจัยและการรักษาทางการแพทย์

ศาลาทินทัต

การอุทิศร่างกายมีส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษาด้านแพทยศาสตร์เป็นอย่างมาก ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาจะถูกเรียกว่า "อาจารย์ใหญ่" เพราะนอกจากท่านจะเป็นผู้ให้ความรู้โดยละเอียดด้านกายวิภาคศาสตร์ได้สมบูรณ์แบบและเสมือนจริงที่สุดอย่างไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ให้แก่นิสิตแพทย์แล้ว อาจารย์ใหญ่แต่ละร่างยังเป็นผู้ฝึกอบรมทักษะการช่วยชีวิตผู้ป่วยและการผ่าตัดขั้นสูงด้วย ซึ่งในแต่ละปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำเป็นต้องใช้ร่างอาจารย์ใหญ่มากกว่า 300 ท่าน[19] ประชาชนทั่วไปสามารถศึกษารายละเอียดและแสดงความจำนงเป็นผู้อุทิศร่างกายได้ที่ ศาลาทินทัต ด้านข้างอาคาร ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เวลา 08.30-16.30 น วันจันทร์-ศุกร์ (เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์) อย่างไรก็ตามคณะแพทยศาสตร์ไม่สามารถรับศพผู้อุทิศร่างกาย ดังนี้[20]

  1. ผู้อุทิศร่างกายฯ ที่ถึงแก่กรรมมีสาเหตุจากติดเชื้อโรคร้ายแรง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) ไวรัสตับอักเสบ วัณโรคและพิษสุนัขบ้า[21]
  2. ผู้อุทิศร่างกายที่ผ่านการฉายรังสีในการรักษาโรคต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 1 ปี[21]
  3. ผู้อุทิศร่างกายฯ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ มีคดี เกี่ยวข้องกับคดีหรือมีการผ่าพิสูจน์[21]
  4. ร่างกายผู้อุทิศร่างกายฯ มีลักษณะกลิ่นจากการเนื้อเยื่อเน่าเสีย[21]

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นโรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่ มีนิสิตทั้งระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญาตรี) และบัณฑิตศึกษา (สูงกว่าปริญญาตรี) รวมถึงแพทย์เพิ่มพูนประสบการณ์อีกเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีการศึกษามีการจัดการเรียนการสอนที่จำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านร่างอาจารย์ใหญ่มากมาย มีการฝึกผ่าตัดเพื่อเพิ่มพูนทักษะ สร้างความแม่นยำในการรักษาแก่แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญปีละกว่า 100 ครั้ง[22] และมีแนวโน้มที่จะมีการฝึกผ่าตัดกับร่างอาจารย์ใหญ่มากขึ้นทุกปี อาจารย์ใหญ่จึงเป็นบุคคลสำคัญอย่างมากในการศึกษาด้านแพทยศาสตร์ทุกระดับ ผู้อุทิศร่างกายทุกท่านถือเป็นบุคคลสำคัญและมีคุณูปการอย่างที่สุดต่อวงวิชาการทางการแพทย์และการศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทย[23] อันจจะนำมาสู่การสร้างบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถระดับสูง และวิทยาการทางการทางการแพทย์ใหม่ ๆ ที่จะเป็นความหวังของผู้ป่วยทั่วประเทศไทย

ปัจจุบันการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาให้กับคณะแพทศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถทำได้ง่ายขึ้นผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์ ทางเว็บไซต์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นสถานปฏิบัติการ (โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์) ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเลือกเมนู อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา

การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

การที่ผู้ป่วยยินยอมให้นิสิตแพทย์และพยาบาลเข้าร่วมสังเกตการรักษาและให้ความร่วมมือแก่นิสิตระหว่างการรักษา เช่น การให้ข้อมูลของผู้ป่วยโดยละเอียดระหว่างการติดตามอาการและการบันทึกประวัติ ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้อาจารย์แพทย์ได้ทำการสอนนิสิตจากสภาพจริง เอื้อต่อการเพิ่มพูนทักษะให้กับนิสิตแพทย์และพยาบาลในหลายด้าน นับว่าเป็นขั้นตอนสำคัญของการศึกษาด้านแพทยศาสตร์ จึงเป็นการแสดงการมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยของผู้ป่วยและประชาชนผู้เข้ารับการรักษาที่มีต่อคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/771520 http://www.chulasurgery.com/ http://www.cu-obgyn.com/ http://maps.google.com/maps?ll=13.733237,100.53679... http://www.mdcualumni.com/th/kingRama8.php http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7332... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.thaicraniofacial.com/ http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-1... http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-5...